MENU
เกี่ยวกับกลุ่ม
ความเป็นมา และ ข้อมูลเก่า
2531
2532
2540
2562
เกษตรกรรมในประเทศไทย
 มีลักษณะแข่งขันสูง หลากหลายและเจนจัด การส่งออกของไทยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในระดับนานาชาติ ข้าวเจ้าเป็นพืชผลสำคัญที่สุดของประเทศ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ไปยังตลาดข้าวโลก โภคภัณฑ์การเกษตรอื่นมีทั้งปลาและผลิตภัณฑ์ปลา มันสำปะหลัง ยาง ธัญพืชและน้ำตาล การส่งออกอาหารแปรรูปทางอุตสาหกรรม เช่น ทูน่ากระป๋อง สับปะรด และกุ้งแช่แข็งกำลังมีเพิ่มขึ้น
การเกษตรสมัยกรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา

ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมมาช้านาน เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตมรสุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร ประชากร ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตรหรือเกี่ยวข้องมาโดยตลอด แม้ว่าจะพยายามพัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังคงพึ่งพาอาศัยเกษตรกรรมอยู่เช่นเดียวกับประเทศที่ได้พัฒนาไปแล้วทั้งหลาย วิวัฒนาการและพัฒนาการเกษตรของไทยได้เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และตามกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกมาตามลำดับ

สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ.1781-1893) การเกษตรในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ราว พ.ศ.1800 พ่อขุนรามคำแหงทรงมีรัฐประศาสโนบายในทางส่งเสริมและบำรุงการเกษตร โดยประชาชนมีอิสระเสรีในการประกอบอาชีพตามถนัด ที่ดินที่ได้ปลูกสร้างทำประโยชน์ขึ้นก็ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ปลูกสร้าง และให้เป็นมรดกตกทอดไปถึงลูกหลาน เป็นการให้กำลังใจแก่ประชาชนในอันที่จะหักร้างถางพงปลูกสร้างทำที่ดินให้เกิดประโยชน์สมัยนั้นมีระบบปลูกพืชเป็นแปลงขนาดใหญ่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงมีระบบการทดน้ำและระบายน้ำเป็นอย่างดี ทำให้สามารถปลูกพืชเป็นแปลงใหญ่ๆ ได้ เพราะเมืองสุโขทัยเป็นที่ดอน แปลงปลูกพืชที่เป็นป่าก็มีทั้ง ป่าหมาก ป่าตาล ป่าพลู ป่าผลไม้ เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว ตลอดไปจนถึงไร่และนาซึ่งมีอยู่มากมาย อีกทั้งไม่คิดภาษีจังกอบ เป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการทำการเกษตร และทำให้การเกษตรพัฒนามาโดยตลอด

การประกอบอาชีพด้านการเกษตร

เกษตรกรรมในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายด้าน คือ

·         การทำนา มีการทำทุกภาค แต่ภาคกลางมีการทำนามากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ทำนามากที่สุดของประเทศ

·         การทำสวนยางพารา พบมากในภาคใต้และจังหวัดจันทบุรี ตลอดจนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย นอกจากนี้ ยังมีการปลูกสวนปาล์มน้ำมันด้วยเช่นกัน

·         การทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย ส้ม สับปะรด แตงโม กล้วย ขนุน มะม่วง ละมุด พุทรา องุ่น น้อยหน่า ลางสาด

·         การทำพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย ปอ ฝ้าย นุ่น ละหุ่ง มะพร้าว มันสำปะหลัง ยาสูบ พริกไทย ตาล ถั่วต่าง ๆ

·         การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร โค กระบือ เป็ด ไก่ ห่าน ไหม ช้าง ม้า ลา ล่อ

เพื่อเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมของสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในระหว่างหมู่สมาชิก คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีมติเมื่อ พ.ศ.2523 ให้จัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร